วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

นางสาวอาทิตยา จิตบุญ 6EC/59 เลขที่ 11

บันทึกสะท้อนความรู้ครั้งที่ 5
อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์วิลาวัณย์  ผลจันทร์
วันที่ 12 กรกฎาคม 2561
1.ความรู้ที่ได้ในวันนี้
- อาจารย์พูดเรื่องอัตลักษณ์ ของโรงเรียนว่าเป็น รูปธรรม หรือ นามธรรม 
รูปธรรม คือ สิ่งที่สับต้องไม่ได้
นามธรรม คือ คือ สิ่งที่สับต้องได้
อัตลักษณ์ เป็น นามธรรม เป็นสิ่งที่สับต้องได้ เช่น โรงเรียนมีอัตลักษณ์คือเป็นสิ่งที่โรงเรียนนั้นกระทำได้เป็นอัตลักษณ์เฉพาะโรงเรียนนั้น เช่น เรียนดี กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม โรงเรียนนั้นก็จะต้องมีเด็กที่เรียนเก่ง เล่นกีฬาเก่ง มีระเบียบวินัยเรียบร้อย
- ทักษะการฟัง การฟังนั้นเราสามารถฟังได้ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่
ค = คิดได้
ว = วิเคราะห์
ย = แยกแยะ
- การพูดของเด็กในวัย 0-3 ปี เด็กสามารถพูดได้แต่จะพูดได้ไม่เป็นเรื่องราว
- พฤติกรรมเรียนแบบนั้น ถ้าเด็กอยู่ที่โรงเรียนนั้นเด็กจะดูครูเป็นตัวอย่างแล้วทำท่าทางครูมาทำตาม ซึ่ง
พฤติกรรมนี้ตรงกับทฤษฎีของ "อัลเบิร์ต แบนดูร่า"Albert Bandure
- EF (Education First) เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่น ความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ และการทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์เราทุกคนต้องใช้ มีความสำคัญยิ่งต่อทั้งความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิตครอบครัว ทักษะ EF นี้นักวิชาการระดับโลกชี้แล้วว่า สำคัญกว่า IQ
    ทั้งนี้ มีงานวิจัยชัดเจนว่า ช่วงวัย 3-6 ปีนี้ เป็นช่วงเวลาทองของชีวิตในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก เพราะสมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ พ้นจากช่วงเวลานี้ไปถึงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แม้จะยังพัฒนาได้ แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วงปฐมวัย
Executive Functions (EFประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ประกอบด้วย 
1.Working memory ความจำที่นำมาใช้งานความสามารถในการเก็บข้อมูล ประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองของเราออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ 
2.Inhibitory Control การยั้งคิด และควบคุมแรงปรารถนาของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จนสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมได้ในกาลเทศะที่สมควร เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ ก็เหมือน “รถที่ขาดเบรก”
3.Shift หรือ Cognitive Flexibility การยืดหยุ่นความคิด สามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปยืดหยุ่นพลิกแพลงเป็น เห็นทางออกใหม่ๆ และคิดนอกกรอบ”ได้
4.Focus Attention การใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก
5.Emotional Control การควบคุมอารมณ์ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับความเครียดความเหงาได้ มีอารมณ์มั่นคง และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น
6.Planning and Organizing การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมายให้เป็นขั้นตอน
7.Self -Monitoring การรู้จักประเมินตนเอง รวมถึงการตรวจสอบการงานเพื่อหาจุดบกพร่อง และรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร ได้ผลอย่างไร
8.Initiating การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิด เมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
9. Goal-Directed Persistence ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ
2.ความรู้ใหม่ที่ได้ในวันนี้
เพลงส้มตำ
ส้มตำมะละกอ (ซ้ำ)
เยาะน้ำปลานิดหน่อย
บีบมะนาวนิดหน่อย
ปลาร้าตัวน้อยมาค่อยใส่นำ
ใส่นำ ใส่นำ ใส่นำ
แล้วอาจารย์ในเล่นเกมส์ปลาร้าหาครก เป็นครก 2 คน อาจารย์จะให้ร้องเพลงไปเรื่อยๆแล้วให้ปลาร้าอยู่ในครก หรือ ครกก็ต้องหาปลาร้ามาอยู่ในครกตัวเอง กี่ตัวตามที่อาจารย์สั่ง
3.ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ
- ชอบที่อาจารย์ให้เล่นเกมส์เล่นไปเรื่อยๆ โดยใช้เพลงจับกลุ่ม นักศึกษาโดยที่ไม่รู้ตัว ชอบๆค่ะ
- อยากให้อาจารย์นำเพลงมาสอนใหม่ๆทุกอาทิตและมีกิจกรรมสนุกๆแบบนี้อีกค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

นางสาว อาทิตยา จิตบุญ เลขที่ 11 6EC/59

สะบันทึกท้องความรู้ ครั้งที่ 4 
อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์วิลาวัณย์ ผลจันทร์
วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
1.ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
-อาจารย์พูดเรื่องการสอบเข้ามหาวิทยาลัยว่ามีหลายขั้นตอนในการสอบเข้า
-อาจารย์สอนวิธีการเขียนหนังสือพยัญชนะไทยหัวกลมตัวเหลี่ยม
2.ความรู้ใหม่ที่ได้รับ
-ได้เขียนคำคล้องจองลงในกระดาษบรู๊ฟ
-คำคล้องจองที่ได้หามา
ฆ เอ๋ย ฆ ระฆัง
เหง่ง หง่าง เสียง ดัง 
กัง วาน ไพ เราะ
ใช้ ไม้ พอ เหมาะ 
เคาะ ระ ฆัง เอย
3.ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ
กิจกรรมที่อาจารย์นำมาสอนในวันนี้มีประโยชน์และนำไปใช้ในการสอน เด็กๆให้รู้จัก ตัวพยัญชนะไทย 44 ตัวได้โดยง่ายเพราะเด็กได้เห็นภาพ และคำคล้องจองด้วย

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

นางสาว อาทิตยา จิตบุญ เลขที่11 6EC/59

บันทึกความรู้ครั้งที่ 3
อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์วิลาวัณย์ ผลจันทร์
วิชา การจักประสบการณ์ทางภาษาและการเรียนรู้หนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย
1.ความรู้ที่ได้ในวันนี้
การฟัง

  เป็นการสื่อสารที่ใช้มาก และสำคัญที่สุดในชีวิตประจำวันของมนุษย์ โดยประสาทหูรับเสียงต่าง ๆ โดยเฉพาะเสียงพูดของมนุษย์ การฟังนับเป็นทักษะขั้นพื้นฐานของชีวิตที่จะโยงใยถึงทักษะอื่น ๆ อีก ๓ ทักษะ คือ การพูด การอ่าน และการเขียนการฟัง เป็นทักษะทางภาษาที่ต้องใช้มากกว่าทักษะอื่น ๆ ในแต่ละวัน เป็นทักษะที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะคนเราเริ่มใช้ภาษาโดยการฟังก่อน การฟังจึงเป็นพื้นฐานให้เกิดทักษะ พูด อ่าน และเขียนตามมา 

2.ความรู้ใหม่ที่ได้ในวันนี้
ได้ทำสื่อการสอนจากกระป๋องน้ำอักลม


3.ข้อเสนอแนะ/ตวามคิดเห็น
-ชอบในการสอนของอาจารย์ ที่อาจารย์ไม่ว่าแต่ให้ไปทำมาให้ดีขึ้นจะบอกว่าจะต้องทำแบบนี้นะลูก
-อยากให้สอนทำสื่อการสอนทุกอาทิตย์และมีเพลงใหม่ๆมาให้ร้องกัน 

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2561

นางสาวอาทิตยา จิตบุญ เลขที่ 11 ห้อง 6 EC/59

บันทึกสะท้อนความรู้ครั้งที่ 2 
วันที่ 21 มิถุนายน 2561
อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์วิลาวัณย์ ผลจันทร์
วิชา : การจัดประสบการณ์ทางภาษาและการเรียนรู้หนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย
1.)ความรูที่ได้ในวันนี้
       เด็กปฐมวัยเรียนรู้ภาษา จากสิ่งสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวทั้งสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียน เด็กจะเรียนรู้จากการฟังและการพูดก่อน เพราะการฟังและการพูดเป็นของคู่กัน เป็นพื้อฐานทางภาษา คือเมื่อฟังแล้วย่อมพูดตอบโต้ได้ การที่จะสอนเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องสอนอย่างเป็นทางการ หรือตามหลักไวยกรณ์แต่จะเป็นการเรียนรู้จากคนรอบข้างหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว 
2.)ความรู้ใหม่ในวันนี้ 
วันนี้ได้เพลงมาเพิ่มอีกหนึ่งเพลง คือ เพลง ก.ไก่
เพลง ก.ไก่
ก.ไก่ในสวนบ้านฉัน
เช้าขันตัวฉันตื่นนอน
เช้าแล้ว ก.ไก่ตื่นก่อน (ซ้ำ)
ก.ไก่สั่งสอนให้ไปโรงเรียน
เป็นเพลงที่เราสามารถนำไปสอนเด็กให้รู้จักหน้าที่ของตนเอง ว่าเราเป็นเด็กหน้าที่ของเราคือการศึกษาเล่าเรียน เช้าขึ้นเราก็ควรอาบน้ำแต่งตัวไปโรงเรียน
การจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัยในด้านของภาษาก้จะมีตั้งแต่ 3-5 ปี  แบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่มเท่าๆกัน
 กลุ่มที่ 1 ได้พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กอายุ 3 ปี 
กลุ่มที่ 2 ได้พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กอายุ 4 ปี
กลุ่มที่ 3 ได้พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กอายุ 5 ปี
ฉันได้อยู่กลุ่มที่ 3 พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กอายุ 5 ปี
3.1. การฟัง
3.1.1.  ชอบฟังนิทาน เรื่องสั้น ๆ หรือเรื่องราวและบอกตัวละครที่ชอบได้ โดยเฉพาะประเภทเทพนิยาย เช่น สโนไวท์ ซิลเดอเรลล่า เจ้าหญิงนิทรา ถ้ามีโอกาสได้แสดงบทบาทสมมติตามเรื่อง เด็กจะพอใจมาก
3.1.2. ปฏิบัติตามคำสั่งที่ต่อเนื่อง 3 4 ขั้นตอน
3.2.การพูด 
3.2.1. พูดคำคล้องจอง ร้องเพลงสั้น ๆ และทำท่าประกอบได้
3.2.2. สามารถเข้าใจคำพูดมากขึ้น
3.2.3. สนทนาโต้ตอบหรือเล่าเรื่องราวที่จะพูดเป็นประโยคต่อเนื่องได้
3.3.การอ่าน
3.3.1. สามารถเข้าใจหนังสือรูปภาพได้รวดเร็ว
3.3.2. ชอบหนังสือเกี่ยวกับอนามัย หรือการใช้เหตุผลง่าย ๆ หรือการใช้คำสุภาพ
3.3.3. อ่านชื่อตัวเอง ป้ายประกาศ ชื่อขนมที่รับประทานบ่อยได้บ้าง
3.3.4. ชอบอ่านโฆษณาในโทรทัศน์ ยี่ห้อรถยนต์ หรือยี่ห้อสินค้าอื่น ๆ
3.4.การเขียน
4.4.1. เขียนชื่อตนเองได้แต่ตัวอักษรอาจไม่เท่ากัน
4.4.2. เขียนพยัญชนะ ตัวเลขได้ แต่อาจไม่เรียงลำดับ
4.4.3. เขียนตัวอักษรได้แต่บางทีหัวกลับ หรือสลับตัวอักษร
4.4.4. เขียนตามแบบผู้ใหญ่ได้
4.4.5. วาดภาพที่ยากขึ้นได้และภาพมีความสมบูรณ์ขึ้น
4.4.6. วาดรูปสี่เหลี่ยมตามแบบและวงกลมเข้าด้วยกันได้
4.4.7. ใช้เชือกร้อยสิ่งของได้
4.4.8. ตัดกระดาษให้อยู่ในแนวระหว่างเส้นสองเส้นได้
4.4.9. ขีดเขียนเป็นลายเส้นคล้ายตัวอักษร
3.) ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ 
ได้เพลงใหม่ทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 เพลง เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้เพลง ชื่อของเธอฉันอยากรู้จัก คุณครูถามทักนักเรียนเข้าใหม่ ชื่อของเธอฉันจำไม่ได้ (ซ้ำ) ชื่ออะไรขอให้บอกมา มีความสุขสนุกทุกครั้งที่เข้าเรียน และยังได้รู้ว่าแต่ละช่วงอายุจะมีการพัฒนาอย่างไร