วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

นางสาวอาทิตยา จิตบุญ 6EC/59 เลขที่ 11

บันทึกสะท้อนความรู้ครั้งที่ 5
อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์วิลาวัณย์  ผลจันทร์
วันที่ 12 กรกฎาคม 2561
1.ความรู้ที่ได้ในวันนี้
- อาจารย์พูดเรื่องอัตลักษณ์ ของโรงเรียนว่าเป็น รูปธรรม หรือ นามธรรม 
รูปธรรม คือ สิ่งที่สับต้องไม่ได้
นามธรรม คือ คือ สิ่งที่สับต้องได้
อัตลักษณ์ เป็น นามธรรม เป็นสิ่งที่สับต้องได้ เช่น โรงเรียนมีอัตลักษณ์คือเป็นสิ่งที่โรงเรียนนั้นกระทำได้เป็นอัตลักษณ์เฉพาะโรงเรียนนั้น เช่น เรียนดี กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม โรงเรียนนั้นก็จะต้องมีเด็กที่เรียนเก่ง เล่นกีฬาเก่ง มีระเบียบวินัยเรียบร้อย
- ทักษะการฟัง การฟังนั้นเราสามารถฟังได้ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่
ค = คิดได้
ว = วิเคราะห์
ย = แยกแยะ
- การพูดของเด็กในวัย 0-3 ปี เด็กสามารถพูดได้แต่จะพูดได้ไม่เป็นเรื่องราว
- พฤติกรรมเรียนแบบนั้น ถ้าเด็กอยู่ที่โรงเรียนนั้นเด็กจะดูครูเป็นตัวอย่างแล้วทำท่าทางครูมาทำตาม ซึ่ง
พฤติกรรมนี้ตรงกับทฤษฎีของ "อัลเบิร์ต แบนดูร่า"Albert Bandure
- EF (Education First) เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่น ความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ และการทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์เราทุกคนต้องใช้ มีความสำคัญยิ่งต่อทั้งความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิตครอบครัว ทักษะ EF นี้นักวิชาการระดับโลกชี้แล้วว่า สำคัญกว่า IQ
    ทั้งนี้ มีงานวิจัยชัดเจนว่า ช่วงวัย 3-6 ปีนี้ เป็นช่วงเวลาทองของชีวิตในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก เพราะสมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ พ้นจากช่วงเวลานี้ไปถึงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แม้จะยังพัฒนาได้ แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วงปฐมวัย
Executive Functions (EFประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ประกอบด้วย 
1.Working memory ความจำที่นำมาใช้งานความสามารถในการเก็บข้อมูล ประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองของเราออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ 
2.Inhibitory Control การยั้งคิด และควบคุมแรงปรารถนาของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จนสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมได้ในกาลเทศะที่สมควร เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ ก็เหมือน “รถที่ขาดเบรก”
3.Shift หรือ Cognitive Flexibility การยืดหยุ่นความคิด สามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปยืดหยุ่นพลิกแพลงเป็น เห็นทางออกใหม่ๆ และคิดนอกกรอบ”ได้
4.Focus Attention การใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก
5.Emotional Control การควบคุมอารมณ์ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับความเครียดความเหงาได้ มีอารมณ์มั่นคง และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น
6.Planning and Organizing การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมายให้เป็นขั้นตอน
7.Self -Monitoring การรู้จักประเมินตนเอง รวมถึงการตรวจสอบการงานเพื่อหาจุดบกพร่อง และรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร ได้ผลอย่างไร
8.Initiating การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิด เมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
9. Goal-Directed Persistence ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ
2.ความรู้ใหม่ที่ได้ในวันนี้
เพลงส้มตำ
ส้มตำมะละกอ (ซ้ำ)
เยาะน้ำปลานิดหน่อย
บีบมะนาวนิดหน่อย
ปลาร้าตัวน้อยมาค่อยใส่นำ
ใส่นำ ใส่นำ ใส่นำ
แล้วอาจารย์ในเล่นเกมส์ปลาร้าหาครก เป็นครก 2 คน อาจารย์จะให้ร้องเพลงไปเรื่อยๆแล้วให้ปลาร้าอยู่ในครก หรือ ครกก็ต้องหาปลาร้ามาอยู่ในครกตัวเอง กี่ตัวตามที่อาจารย์สั่ง
3.ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ
- ชอบที่อาจารย์ให้เล่นเกมส์เล่นไปเรื่อยๆ โดยใช้เพลงจับกลุ่ม นักศึกษาโดยที่ไม่รู้ตัว ชอบๆค่ะ
- อยากให้อาจารย์นำเพลงมาสอนใหม่ๆทุกอาทิตและมีกิจกรรมสนุกๆแบบนี้อีกค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น